Category ข่าวความเคลื่อนไหวสื่อ
แถลงการณ์
ข้อห่วงใยในการจับกุมนักข่าวและช่างภาพ ที่อาจเข้าข่ายคุกคามและละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ในการปฏิบัติหน้าที่ และนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน
ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พระราชวัง ได้นำเนินการจับกุมนายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพอิสระ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามหมายจับของศาลอาญา ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ว่าเป็นผู้สนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน กับ พ.ร.บ.ความสะอาด จากการไปปฏิบัติหน้าที่และรายงานข่าวถ่ายภาพบุคคลที่กำลังพ่นสีเขียนข้อความที่กำแพงวัดพระแก้วในวันที่ ๒๘ มี.ค.๒๕๖๖ ด้วยข้อหา “ เป็นผู้สนับสนุน ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน …
ขอเชิญชวนสื่อมวลชนลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่ (รอบที่5) https://tja.or.th/view/news/1448456
*ตามรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้….
การลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่ (รอบห้า)
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 นายชำนาญ ไชยศร อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจาก ศปสช.จัดตั้งขึ้นจากองค์กรวิชาชีพสื่อ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ได้จัดทำปลอกแขนตราสัญลักษณ์ “Press” สำหรับสื่อมวลชนโดยผ่านกระบวนการการคัดกรอง และจัดลำดับหมายเลข เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังต้นสังกัดของผู้ใช้ปลอกแขน
มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าต้องเป็นสื่อมวลชนที่มีสังกัด มีกองบรรณาธิการที่สามารถรับผิดชอบทางกฎหมาย ผลิตข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ และในกรณีที่เป็นสื่อที่นำเสนอข่าวสารทางโซเชียลมีเดียต้องมีเว็บไซต์ หรือโดเมนของตนเองอย่างชัดเจน เพื่อการติดตามและรับผิดชอบกรณีที่มีการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย …
ประชุมรัฐสภาล่มอีก ร่างกฎหมาย ‘จริยธรรมสื่อ’ ติดดอย ไม่ได้ลงมติ/สรุปเสียงค้าน-เห็นด้วย ร่างกฎหมายจริยธรรมสื่อฯ ประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษกำลังพิจารณา/ส.ว. เร่งสภาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อฯ อ้างต้องมีกลไก ‘กำกับดูแล’ แต่เนื้อในคือการ ‘ควบคุม’
รวมข่าวเกี่ยวกับ “การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ…..” ตามที่ระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ ๒) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
https://workpointtoday.com/politic-parliament-3/
สรุปเสียงค้าน-เห็นด้วย ร่างกฎหมายจริยธรรมสื่อฯ ประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษกำลังพิจารณา
https://www.komchadluek.net/news/politics/542490
ประชุมรัฐสภาล่มอีก ร่างกฎหมาย ‘จริยธรรมสื่อ’ ติดดอย ไม่ได้ลงมติ
https://www.thaipbs.or.th/content/324314
เริ่มถก ร่าง พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อ หลังช้ากว่า …
MOU เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
(18/10/65) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยนายสุปัน รักเชื้อ ประธานสภาฯ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ใน โครงการความร่วมมือระหว่างกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กับกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมจริยธรรมสื่อเพื่อสร้างระบบนิเวศสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ วัตถุประสงค์เพื่อผสานความร่วมมือระหว่างกองทุนพัฒนาสื่อฯ องค์กรวิชาชีพและองค์กรกำกับดูแลในการนำเสนอข่าวสารภายใต้กฏหมายและจรรยาบรรณตลอดจนสร้างนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในวิชาชีพสื่อทุกภาคส่วน
สำหรับพิธีลงนาม MOU ในวันนี้ยังมีตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและ นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมลงนามใน MOU ฉบับนี้
กสทช.ขอความร่วมมือองค์กรวิชาชีพสื่อ เพื่อกำชับให้สมาชิกหลีกเลี่ยงการซ้ำเติมผู้สูญเสีย การนำเสนอเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ทางจริยธรรม และขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการนำเสนอข่าวกราดยิงที่จ.หนองบัวลำภู
หนังสือแจ้งเวียน องค์กรวิชาชีพ กราดยิง(4)
ด้วยสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้รับหนังสือแจ้งเวียนจาก สำนักงาน กสทช. ที่ สทช 2304/ว 35799 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ถึง องค์กรวิชาชีพด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เกี่ยวกับการนำเสนอเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ด้วยปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ โดยการเชิญผู้เสียหายมาเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่คนในสังคม ซึ่งมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์จนเกินความจำเป็นหรือแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ในลักษณะของการกล่าวโทษเหยื่อ (Victim Blaming) ว่าอาจมีส่วนของการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การตัดสินผู้เสียหายของคนในสังคม โดยผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระเบียบข้อบังคับประกาศ คำสั่ง หรือ มาตรการที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะองค์กรที่ดูแลในด้านจริยธรรมของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ จึงขอนำเรียนเพื่อทราบและขอความร่วมมือองค์กรสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดตามหลักจริยธรรมวิชาชีพในการนำเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะและปกป้องสิทธิส่วนบุคคลผู้ที่ตกเป็นข่าว ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือถูกซ้ำเติมจากการนำเสนอข่าวในเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศอีกต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอขอบพระคุณทุกท่านในความร่วมมือด้วยดีเสมอมา
ขอแสดงความนับถือ
(นายสุปัน รักเชื้อ)
ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
โฆษกรัฐบาลเป็นผู้แทนรับหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีจาก 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ยินดีที่สื่อมวลชนและรัฐบาลเห็นพ้อง ร่วมกันสกัดกั้นข่าวปลอม พร้อมแสวงหาพื้นที่กลาง (Common Ground) ออกแบบการทำงานร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ประชาชน
วันนี้ (30 ก.ค.64) เวลา 11.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับหนังสือ จาก 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ประกอบด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ยืนยันนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพ ประชาชนและสื่อมวลชนสามารถวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้ เพียงขอให้เสนอข้อมูลบนพื้นฐานข้อเท็จจริง ไม่สร้างความหวาดระแวงหรือความกังวลในสังคม …
6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ขอเชิญใช้กรอบรูปโปรไฟล์ (Facebook Photo Frame)
เพื่อร่วมรณรงค์หยุด พรก.ฉุกเฉิน หยุดคุกคามสื่อ-หยุดคุกคามประชาชน
แถลงการณ์ร่วม 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน
ขอให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการจำกัดเสรีภาพประชาชนและสื่อมวลชนตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ตามที่ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้มีแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 แสดงความกังวลต่อการที่รัฐบาลออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) เรื่อง มาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่ระบุว่า “การเสนอข่าวหรือการทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทั่วราชอาณาจักร” พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการออกข้อกำหนดข้างต้น หรือจัดทำแนวปฏิบัติจากข้อกำหนด และแถลงถึงเจตนารมณ์ในการบังคับใช้ให้เกิดความชัดเจน เพื่อมิให้มีการนำข้อกำหนดดังกล่าว ไปเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการทำหน้าที่เสนอข่าวสารของสื่อมวลชนและการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน จนกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ นอกจากรัฐบาลจะเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องขององค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแล้ว …
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ฯ จับมือกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยฯ จัดประชุมเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอม
( ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ) ที่ห้องประชุม อิศรา ชั้น ๓ อาคารสมาคมนักข่าว ได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเห็นจัดตั้งเครือข่ายตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย โดยสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้รับความสนใจจากเครือข่ายต่างๆ เข้าร่วมประชุมทั้งในเวทีและระบบออนไลน์ อย่างกว้างขวาง เช่น เครือข่ายองค์กรวิชาชีพสื่อ เครือข่ายภาคประชาสังคมจากภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ เครือข่ายนักวิชาการด้านสื่อ เครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ตัวแทนกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมไปจนถึงผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์จากกรมประชาสัมพันธ์
โดยในการประชุมดังกล่าว ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม “ ดีใจที่ทุกคนมีส่วนร่วม จัดตั้งเครือข่ายนี้ …