Category กิจกรรมสภาวิชาชีพข่าวฯ
แถลงการณ์
ข้อห่วงใยในการจับกุมนักข่าวและช่างภาพ ที่อาจเข้าข่ายคุกคามและละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ในการปฏิบัติหน้าที่ และนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชน
ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พระราชวัง ได้นำเนินการจับกุมนายณัฐพล เมฆโสภณ ผู้สื่อข่าวประชาไท และนายณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ ช่างภาพอิสระ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามหมายจับของศาลอาญา ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ว่าเป็นผู้สนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน กับ พ.ร.บ.ความสะอาด จากการไปปฏิบัติหน้าที่และรายงานข่าวถ่ายภาพบุคคลที่กำลังพ่นสีเขียนข้อความที่กำแพงวัดพระแก้วในวันที่ ๒๘ มี.ค.๒๕๖๖ ด้วยข้อหา “ เป็นผู้สนับสนุน ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน …
แถลงการณ์ร่วม 7 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน
เรื่อง นักข่าวรับเงินจากแหล่งข่าว
สืบเนื่องจากกรณีที่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่ามีการจ่ายเงินให้สื่อมวลชนเพื่อเป็นค่าข่าว และช่วยเหลือด้านต่างๆ เนื่องจากเห็นว่านักข่าวเงินเดือนน้อย ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข่าวต่อสาธารณะออกไปอย่างแพร่หลายนั้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 7 องค์กร ประกอบด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุมกันและขอแสดงจุดยืนต่อสาธารณะว่า สื่อมวลชนที่รับเงินจากแหล่งข่าวเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการใดๆ ถือเป็นเรื่องที่ละเมิดจริยธรรมวิชาชีพอย่างร้ายแรง ไม่สามารถยอมรับได้
ดังนั้น ที่ประชุม 7 องค์กรวิชาชีพ จึงมีมติร่วมกันดังนี้
1. เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความกระจ่างชัดในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณชนโดยคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากสภาวิชาชีพสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเรื่องจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนขององค์กรสมาชิก องค์กรละ …
‘คำชี้แจงการใช้ปลอกแขนสื่อ’…..
ประกาศศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม”
เรื่อง คำชี้แจงการใช้ปลอกแขนสัญลักษณ์ของสื่อมวลชนในการรายงานข่าว
ตามที่ศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 6 องค์กร ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ได้จัดทำปลอกแขนสำหรับสื่อมวลชน เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกฝ่ายมีไว้แสดงตัวตนอย่างบริสุทธิ์ใจ ในการลงพื้นที่ทำข่าวการชุมนุม ตามหลักสากลที่สื่อมวลชนหลายประเทศพึงใช้ที่ต้องการเสรีภาพในการทำข่าวการ ชุมนุม อย่างรอบด้าน ปราศจากการกดดัน และคุกคามจากทุกฝ่าย
ปัจจุบันเปิดให้ลงทะเบียนขอรับปลอกแขน สำหรับสื่อมวลชนที่มีสิทธิ์ตรงตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้มาแล้ว 5 รอบ มีองค์กรสื่อมวลชนติดต่อลงทะเบียนรับปลอกแขนไปแล้วจำนวนมาก และศปสช.ได้รับฟังเสียงสะท้อนทั้งปัญหา และความคิดเห็นเกี่ยวการใช้ หรือครอบครองปลอกแขนสื่อมวลชนจำนวนมาก เหตุนี้เมื่อวันอังคารที่3 สิงหาคม2566 ศปสช.ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ หรือระเบียบที่ต้องความให้เข้าใจดังนี้
1.ปลอกแขนสัญลักษณ์สื่อมวลชนจัดตั้งขึ้นมีลักษณะเป็นสีฟ้าทาบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษสีขาวว่า “PRESS” ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากลที่สื่อถึงผู้ปฏิบัติงานแสดงสัญลักษณ์ชัดเจนว่า …
ขอเชิญชวนสื่อมวลชนลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่ (รอบที่5) https://tja.or.th/view/news/1448456
*ตามรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้….
การลงทะเบียนรับปลอกแขนสื่อมวลชนชุดใหม่ (รอบห้า)
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 นายชำนาญ ไชยศร อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม (ศปสช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจาก ศปสช.จัดตั้งขึ้นจากองค์กรวิชาชีพสื่อ 6 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ได้จัดทำปลอกแขนตราสัญลักษณ์ “Press” สำหรับสื่อมวลชนโดยผ่านกระบวนการการคัดกรอง และจัดลำดับหมายเลข เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังต้นสังกัดของผู้ใช้ปลอกแขน
มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าต้องเป็นสื่อมวลชนที่มีสังกัด มีกองบรรณาธิการที่สามารถรับผิดชอบทางกฎหมาย ผลิตข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ และในกรณีที่เป็นสื่อที่นำเสนอข่าวสารทางโซเชียลมีเดียต้องมีเว็บไซต์ หรือโดเมนของตนเองอย่างชัดเจน เพื่อการติดตามและรับผิดชอบกรณีที่มีการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย …
ประกาศศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม
เรื่อง การใช้ปลอกแขนสัญลักษณ์ของสื่อมวลชนในการรายงานข่าวการชุมนุม
ตามที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ออกคำประกาศแนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนในภาวะที่เกิดความไม่สงบ (ตามเอกสารแนบ) นั้นศูนย์ประสานงานสื่อมวลชนในสถานการณ์การชุมนุม ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนองค์กรวิชาชีพสื่อ 6 องค์กรได้แก่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย ขอชี้แจงให้ทราบทั่วกันว่า การจัดทำปลอกแขนตราสัญลักษณ์ “Press” สำหรับสื่อมวลชนได้ผ่านกระบวนการการคัดกรอง และจัดลำดับหมายเลขเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังต้นสังกัดของผู้ใช้ปลอกแขน โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าต้องเป็นสื่อมวลชนที่มีสังกัด มีกองบรรณาธิการที่สามารถรับผิดชอบทางกฎหมาย ผลิตข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ และในกรณีที่เป็นสื่อที่นำเสนอข่าวสารทางโซเชียลมีเดีย จะต้องมีเว็บไซต์หรือโดเมนของตนเองอย่างชัดเจน เพื่อการติดตามและรับผิดชอบกรณีที่มีการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งกระบวนการการดังกล่าวต้องใช้เวลาในการดำเนินการพอสมควร
ในปัจจุบันนี้มีองค์กรสื่อมวลชนที่ได้ติดต่อ ลงทะเบียนและขอรับปลอกแขนไปแล้วจำนวนมากพอสมควร หวังว่าผู้ปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนที่สวมปลอกแขนจะได้รับความไว้วางใจจากเจ้าหน้าที่และผู้ร่วมชุมนุม ว่าเป็นผู้ที่เข้าไปทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนตามจริยธรรมวิชาชีพ ไม่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของคู่ขัดแย้งไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบและจัดทำปลอกแขนนั้น อาจจะมีสื่อมวลชนส่วนหนึ่งที่เพิ่งยื่นคำขอเข้ามาใหม่ หรือยื่นขอลงทะเบียนไว้แต่ยังไม่ได้รับปลอกแขน จึงขอความร่วมมือไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และสื่อมวลชนที่ยังไม่ได้รับปลอกแขนดังกล่าว โดยขอให้ใช้บัตรพนักงาน …
ประชุมรัฐสภาล่มอีก ร่างกฎหมาย ‘จริยธรรมสื่อ’ ติดดอย ไม่ได้ลงมติ/สรุปเสียงค้าน-เห็นด้วย ร่างกฎหมายจริยธรรมสื่อฯ ประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษกำลังพิจารณา/ส.ว. เร่งสภาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อฯ อ้างต้องมีกลไก ‘กำกับดูแล’ แต่เนื้อในคือการ ‘ควบคุม’
รวมข่าวเกี่ยวกับ “การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ…..” ตามที่ระเบียบวาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ ๒) เป็นพิเศษ
วันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
https://workpointtoday.com/politic-parliament-3/
สรุปเสียงค้าน-เห็นด้วย ร่างกฎหมายจริยธรรมสื่อฯ ประชุมร่วมรัฐสภานัดพิเศษกำลังพิจารณา
https://www.komchadluek.net/news/politics/542490
ประชุมรัฐสภาล่มอีก ร่างกฎหมาย ‘จริยธรรมสื่อ’ ติดดอย ไม่ได้ลงมติ
https://www.thaipbs.or.th/content/324314
เริ่มถก ร่าง พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อ หลังช้ากว่า …
แถลงการณ์คัดค้านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .…
ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .… และเสนอเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภาแบบเร่งด่วนในวันอังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามข้อเสนอของ พลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภาขณะที่อยู่ในตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ขอให้นำร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .…เข้าสู่การพิจารณาแบบเร่งด่วน โดยอ้างถึงร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .… เป็นกฎหมายปฏิรูปประเทศตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๐ ในหมวดที่ ๑๖
๑. ว่าด้วยหลักการและเหตุผลในการร่างพ.ร.บ. ตามที่ได้มีอ้างถึงเหตุผลการร่าง …
แถลงการณ์ 3 องค์กรวิชาชีพสื่อ //เรื่องการนำเสนอข่าวคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงนักเรียน ครู และประชาชนชน
วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
เรื่อง ขอความร่วมมือให้ระมัดระวังในการนำเสนอข่าวเหตุกราดยิงที่หนองบัวลำภู
เรียน องค์กรสมาชิกสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาชิกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ตามที่ได้เกิดเหตุกราดยิงในศูนย์เด็กเล็กแห่งหนึ่งใน องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นากลาง
ต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู และผู้ก่อเหตุได้ยิงตัวเองและคนในครอบครัวของตน ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุที่สะเทือนขวัญของคนในสังคมและนำมาซึ่งการเศร้าเสียใจของครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ
ทางสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอความร่วมมือมายังองค์กรสมาชิกของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาชิกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ให้ระมัดระวังในการนำเสนอข่าวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ภาพข่าว เนื้อหาข่าว การนำเสนอของผู้จัดรายการข่าวและผู้ประกาศข่าว ในทุกช่องทางการเผยแพร่ขององค์กร ที่จะละเมิดต่อผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมไปจนถึงครอบครัวและเครือญาติ
จึงเรียนมาเพื่อขอความร่วมมือ
ขอแสดงความนับถือ
นายสุปัน รักเชื้อ นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม
ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย …
ด้วยสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้รับหนังสือแจ้งเวียนจาก สำนักงาน กสทช. ที่ สทช 2304/ว 35799 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2565 ถึง องค์กรวิชาชีพด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เกี่ยวกับการนำเสนอเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ ด้วยปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศ โดยการเชิญผู้เสียหายมาเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่คนในสังคม ซึ่งมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์จนเกินความจำเป็นหรือแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ในลักษณะของการกล่าวโทษเหยื่อ (Victim Blaming) ว่าอาจมีส่วนของการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น จนนำไปสู่การตัดสินผู้เสียหายของคนในสังคม โดยผู้รับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระเบียบข้อบังคับประกาศ คำสั่ง หรือ มาตรการที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในฐานะองค์กรที่ดูแลในด้านจริยธรรมของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ จึงขอนำเรียนเพื่อทราบและขอความร่วมมือองค์กรสมาชิกและผู้ปฏิบัติงานยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดตามหลักจริยธรรมวิชาชีพในการนำเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะและปกป้องสิทธิส่วนบุคคลผู้ที่ตกเป็นข่าว ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือถูกซ้ำเติมจากการนำเสนอข่าวในเนื้อหารายการที่เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศอีกต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอขอบพระคุณทุกท่านในความร่วมมือด้วยดีเสมอมา
ขอแสดงความนับถือ
(นายสุปัน รักเชื้อ)
ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย