Home » กิจกรรมสภาวิชาชีพข่าวฯ, ข่าวความเคลื่อนไหวสื่อ

องค์กรวิชาชีพสื่อประชุมร่วมกับตัวแทนกองบรรณาธิการฯ ต่อการนำเสนอข่าวและการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม

Author by 23/06/16No Comments »

องค์กรวิชาชีพสื่อประชุมร่วมกับตัวแทนกองบรรณาธิการและตัวแทน สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ  ต่อการนำเสนอข่าวและการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม เมื่อ 19 พ.ค. 59 เพื่อถอดบทเรียนและหารือร่วมกัน สร้างมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่สร้างความตื่นตระหนกและความหวาดกลัวเกิดขึ้นในสังคม

วันนี้ (24 พ.ค.2559)  สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เชิญตัวแทนบรรณาธิการและตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ร่วมประชุมหารือถึงเสียงสะท้อนและการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมต่อการทำหน้าที่ และบทบาทของสื่อ ต่อการนำเสนอข่าวและการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา

โดยที่ประชุมยอมรับว่าถึงแม้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ที่รายงานข่าวและถ่ายทอดสดเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องได้พยายามทำหน้าที่ตาม มาตรฐานวิชาชีพในการรายงานเหตุการณ์ด้วยความระมัดระวังแล้วก็ตาม แต่ก็มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ที่แปรผันและอยู่เหนือการควบ คุมตลอดเวลาและทำให้เผยแพร่ภาพบางช่วงที่ไม่เหมาะสมและสร้างความตื่นตระหนก จนทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจากสังคม ที่ประชุมยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของสื่อมวลชน แต่ทั้งนี้ก็ยืนยันว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการทำหน้าที่ตามหลักการการรายงานข่าวที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะและมีความสำคัญในเชิงคุณค่าข่าว เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากกรณีฆาตกรรมที่สะเทือนความ รู้สึกของคนในสังคมก่อนหน้านี้

ที่ประชุมเห็นร่วมกันที่จะยกกรณีดังกล่าวขึ้นมาถอดบทเรียนและหารือร่วม กัน เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่สร้างความตื่นตระหนกและความหวาดกลัวเกิดขึ้นในสังคม ในเบื้องต้นที่ประชุมเห็นชอบที่นำแนวปฏิบัติจริยธรรมการรายงานข่าวที่ 5 องค์กรสื่อได้ร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการรายงานที่ไม่ละเมิดสิทธิส่วน บุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตกเป็นข่าว เป็นแนวทางในการปฏิบัติ นอกจากนั้นในแต่ละกองบรรณาธิการของสถานีโทรทัศน์จะกลับไปทบทวนกระบวนการทำ งานในกรณีที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การยกระดับการทำหน้าที่ตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อมวลชนต่อไป  พร้อมๆ กับที่จะหารือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำหน้าที่สื่อมวลชน

ที่ประชุมขอแสดงความขอบคุณต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อบทบาทการทำ หน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นกระจกสะท้อนการทำงานของสื่อมวลชนให้มีความรับผิดชอบต่อ สังคมมากขึ้น และสร้างความตระหนักให้กับสื่อมวลชนในการรายงานเหตุการณ์ โดยเฉพาะการเสนอภาพข่าวที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและกระตุ้น ให้เกิดความรุนแรงและการเลียนแบบ

ที่ประชุมตัวแทนกองบรรณาธิการและตัวแทนของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มีความเชื่อมั่นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้สื่อมวลชนได้ ทบทวนบทบาทตนเองเพื่อนำไปสู่การทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมต่อไป

—————————————————————–

แนวปฏิบัติการได้มาและการนำเสนอข่าวและภาพข่าวของสื่อมวลชน

โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตกเป็นข่าว

สืบเนื่องจากการปฏิบัติงานและการนำเสนอข่าวและภาพข่าวของสื่อมวลชนในระยะที่ ผ่านมา ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมต่อผู้ตกเป็น ข่าวในหลายเหตุการณ์ อาทิ การทำข่าวหรือถ่ายภาพที่ไม่เหมาะสมของผู้เจ็บป่วย ผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ วินาศกรรม หรือเหตุรุนแรง ตลอดจนการรายงานข่าวและภาพข่าวของผู้ต้องหาที่ตำรวจนำมาแถลงข่าวหรือนำมาทำ แผนประทุษกรรมอันอาจเป็นการล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เห็นสมควรให้กำหนดแนวปฏิบัติการได้มาและการนำเสนอข่าวและภาพข่าวของสื่อมวล ชน โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตกเป็นข่าว ดังนี้

หมวด ๑ ผู้ปฏิบัติงานข่าว

ข้อ ๑ ในการทำข่าวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา

(๑) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา และจำเลย

(๒) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงระมัดระวังการตั้งคำถามและกระทำการใด ๆ ในลักษณะชี้นำ กดดัน ซ้ำเติม หรือเป็นการดูถูกเหยียดหยามผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา และจำเลย

ข้อ ๒ การทำข่าวอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับฆาตกรรม ภัยพิบัติ วินาศกรรม การก่อการร้าย หรือเหตุรุนแรง

(๑) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพผู้บาดเจ็บที่มีลักษณะอุจาดและสร้างความรู้สึกสยดสยอง

(๒) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงงดเว้นการถ่ายภาพผู้เสียชีวิต หากมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ พึงระมัดระวังภาพผู้เสียชีวิตที่มีลักษณะอุจาด สยดสยอง หรือซ้ำเติมความทุกข์โศกของญาติผู้เสียชีวิต

ข้อ ๓ เมื่อมีความจำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาล

(๑) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพผู้ป่วย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ป่วยโดยชัดแจ้ง

(๒) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงเคารพสิทธิผู้ป่วย โดยเฉพาะข้อมูลและความเป็นอยู่ของผู้ป่วย เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากผู้ป่วย

(๓) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงระมัดระวังการกระทำใด ๆ อันอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และอาจเป็นการรบกวนผู้มาใช้บริการหรือญาติของผู้มาใช้บริการ และพึงปฏิบัติตามประกาศของสถานพยาบาลอย่างเคร่งครัด

ข้อ ๔ ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงระมัดระวังการทำข่าวอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยว ข้องกับฆาตกรรม ภัยพิบัติ วินาศกรรม การก่อการร้าย เหตุรุนแรง หรือการกระทำใด ๆ อันอาจขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๕ ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลในการได้มาซึ่งข้อมูลของผู้ตกเป็นข่าว

ข้อ ๖ ผู้ปฏิบัติงานข่าวต้องไม่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือภาพ หรือข้อมูลอื่นใดของเหยื่อ หรือพยาน หรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในการทำข่าว อันอาจนำมาซึ่งภยันตรายต่อบุคคลเหล่านี้

หมวด ๒ องค์กรสื่อมวลชน

ข้อ ๗ การเสนอข่าวหรือภาพข่าวผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา จำเลย และผู้เสียหาย ในคดีอาญา

(๑) สื่อมวลชนพึงงดเว้นการนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลและภาพข่าวที่แสดงอัตลักษณ์ของบุคคลที่เป็นเพียงผู้ต้องสงสัย

(๒) สื่อมวลชนพึงหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพข่าวเครื่องพันธนาการใด ๆ ของผู้ต้องหาและจำเลย

(๓) สื่อมวลชนพึงหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำในการนำเสนอข่าวเชิงตัดสินหรือเกินข้อ เท็จจริงที่แสดงว่าผู้ต้องหากระทำผิดไปแล้ว หรือเชิงประณามที่เป็นการชี้นำให้เกิดการดูหมิ่นเกลียดชัง

(๔) สื่อมวลชนพึงระมัดระวังการนำเสนอข่าวจากสำนวนคดี อันอาจเป็นการซ้ำเติมความทุกข์โศกที่ผู้เสียหายได้รับ

ข้อ ๘ สื่อมวลชนพึงหลีกเลี่ยงการเสนอภาพข่าวผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ วินาศกรรม และสถานการณ์รุนแรงอื่น ๆ ที่มีลักษณะอุจาด สยดสยอง หรือน่าเวทนา

ข้อ ๙ สื่อมวลชนต้องไม่นำเสนอภาพข่าวศพของผู้เสียชีวิต ในกรณีที่จำเป็นต้องให้ความร่วมมือแก่ทางราชการเพื่อประโยชน์สาธารณะ สามารถนำเสนอได้โดยต้องหลีกเลี่ยงภาพในลักษณะที่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์โศก ต่อญาติของผู้เสียชีวิต

ข้อ ๑๐ สื่อมวลชนต้องไม่นำเสนอภาพผู้ป่วยในสถานพยาบาลที่ตกเป็นข่าว เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ป่วย

ข้อ ๑๑ สื่อมวลชนพึงหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพข่าวของผู้เคราะห์ร้ายหรือญาติซ้ำ ๆ ที่เป็นการตอกย้ำความรุนแรง และความทุกข์โศกของผู้เคราะห์ร้ายและญาติ

ข้อ ๑๒ สื่อมวลชนต้องไม่นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลอื่นใดอันอาจเป็นการละเมิด สิทธิส่วนบุคคลของผู้ตกเป็นข่าวและผู้ที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น

ข้อ ๑๓ สื่อมวลชนพึงหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำและสรรพนามเชิงเหยียดหยามหรือไม่เหมาะสม กับเพศ วัย สถานภาพ และชาติพันธุ์ ของเหยื่อ ผู้เคราะห์ร้าย หรือบุคคลทั่วไปที่ตกเป็นข่าว

ข้อ ๑๔ สื่อมวลชนพึงระมัดระวังการนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลหรือภาพข่าว หรือข้อมูลอื่นใดของพยาน ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งหรือรุนแรง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่พยาน ผู้รู้เห็นเหตุการณ์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้นั้น

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙

ดาวน์โหลดเอกสาร

แนวปฏิบัติการได้มาและการนำเสนอข่าวและภาพข่าวของสื่อมวลชน

Press-Release-ประชุมร่วม-บก.-องค์กรสื่อ

Leave your response!

Add your comment below, or trackback from your own site. You can also subscribe to these comments via RSS.

Be nice. Keep it clean. Stay on topic. No spam.

You can use these tags:
<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

This is a Gravatar-enabled weblog. To get your own globally-recognized-avatar, please register at Gravatar.