Home » ข่าวความเคลื่อนไหวสื่อ

ศีลธรรมกับสื่อมวลชน

Author by 30/10/12No Comments »

ศีลธรรมกับสื่อมวลชน : โลกสาระจิปาถะโดย กวี จงกิจถาวร กรุงปราก-หลังจากที่ประธานาธิบดีวาคลาฟฮาเวล เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้นำสาธารณรัฐเช็กต้นปี 1990 ถือได้ว่าเป็นผู้นำคนแรกของยุโรปตะวันออกที่เคยเป็นคอมิวนิสต์ที่ออกมาชูโรงระบอบประชาธิปไตยเป็นคนแรก ปัญหามีอยู่ว่าผู้นำคนนี้จะหาทางสร้างเครือข่ายในประชาคมโลกได้อย่างไร เพราะอยู่ๆ จะโดดเข้าเวทีการเมืองโลกสนับสนุนประชาธิปไตยทั่วโลกในทันทีย่อมเป็นเรื่องยาก

ก่อนเข้าเล่นการเมือง วาคลาฟ มีชื่อเสียงในฐานะนักเขียนและนักเขียนบทละครหนังสือเกี่ยวกับ พลังของคนไม่มีพลัง (Power of the Powerless) ได้กลายเป็นคัมภีร์ของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยทั่วโลก

ภายในสองสามเดือนแรกของ วาคลาฟสาธารณรัฐเช็กได้ตัดสินใจเชิญท่านทะไลลามะ มาเยือนประเทศเป็นทางการ ในฐานะเป็นผู้นำของคนทิเบต สร้างความฮือฮาพอควร เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ ท่านทะไลลามะ ได้รับคำเชิญจากผู้นำประเทศอย่างเป็นทางการพร้อมมีการต้อนรับอย่างสมเกียรติ

ต่อมากลางปี 1990 วาคลาฟได้เสนอชื่อนางอองซาน ซูจี เข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปลายปี1990 ในปีถัดมา ซูจี ก็ได้รับรางวัลนี้ชื่อวาคลาฟขายได้ในยุโรปเพราะที่นี่ถือว่าผู้นำคนนี้เป็นปัญญาชน นักคิดนักเขียนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริงต่างจากผู้นำอื่นที่ผุดขึ้นมา หลังกำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย วาคลาฟเชื่อว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตายและจะต้องปรากฏในที่สุดเขาถึงเชื่อว่าการต่อสู้เพื่อความจริงเป็นสิ่งสูงสุด วาคลาฟเชื่อว่าเรื่องไม่จริงรู้และเข้าใจได้ง่ายกว่าความจริงซึ่งต้องใช้จิตใจที่เที่ยงธรรมและซื่อสัตย์มิฉะนั้นความจริงจะถูกบิดเบือน วาคลาฟตัดสินจัดตั้งฟอรั่ม2000 ขึ้นทุกๆ ปี ให้เป็นวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทุกๆ มิติ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างนักคิด นักเขียน นักการเมืองทั้งหลายทั้งปวงจากประเทศต่างๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา นักคิดนักเขียน นักการเมือง 150 คนได้ร่วมกันถกปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับประชาธิปไตย ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีประเด็นเกี่ยวกับสื่อและบทบาทสื่อทั้งหมดเกือบห้าสิบหัวข้อ ประเด็นน่าสนใจคือสื่อมวลชนมีศีลธรรมหรือไม่ ถ้ามีจะต้องอยู่ในระดับไหน หรือไม่มีแค่รายงานและส่งผ่านข้อมูลอย่างรวดเร็วเท่านั้น มันเป็นปัญหาที่นักปรัชญาจากอังกฤษและเอเชียถกกันอย่างยาวนานในที่ประชุม แต่ในที่สุดก็หาข้อสรุปไม่ได้ เพราะสื่อมวลชนตอนนี้มีความหมายถึงกว้างมาก ใครคือสื่อ? ใครไม่ใช่? สื่อมวลชนตอนนี้ครอบคลุมถึงทุกๆ คนอยู่ทั่วมุมโลกที่มีมือถือหรือใช้อินเทอร์เน็ตสามารถติดต่อและส่งข่าวและข้อมูลรวมทั้งรูปภาพต่างๆ เกี่ยวบุคคล เหตุการณ์ที่พบเห็นรวมทั้งเรื่องส่วนตัวของคนส่งได้ในฉับพลัน ในสมัยก่อนต้องมีทีมงาน โรงพิมพ์ ขณะนี้คนเดียวทำหน้าที่ทุกอย่างเป็นได้ทั้งนักข่าว ช่างภาพ วางแบบหน้า แถมยังเป็นบรรณาธิการไปในตัว แต่ดูเหมือนว่าจะมีฉันทามติว่าสื่อต้องมีศีลธรรมไม่มากก็น้อยในการสร้างสังคมที่ดีกว่าหรือสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าสำหรับคนอ่านไม่ใช่เป็นพาหะของข้อมูลลื่นไหลแต่อย่างเดียว ฉะนั้นเสรีภาพสื่อและประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง หรือวินาทีต่อวินาทีนั้น ย่อมต้องมีคุณค่าศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวเสมอ ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20121030/143525/ศีลธรรมกับสื่อมวลชน.html#.UI93s2Ire-c